วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
             กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการบรรยาย  การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล  การประมวลผล  การจัดเก็บ  การจัดการหรือการกระทำกับข้อมูลข่าวสาร  โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ  ในการปฎิบัติงาน  เพื่อให้ได้สารสนเทศหรือความรู้ที่นำมาใช้ในการตัดสินใจ  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต  และเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้เกิดความรู้ความเข้าใจร่วมกัน
             กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ  เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี  มีขั้นตอน ดังนี้
1.การรวบรวมข้อมูล  เป็นการนำข้อมูลที่ต้องการจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูลมารวมกันด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น  การให้กลุ่มเป้าหมายช่วยตอบแบบสอบถามที่ตนเองคิดขึ้นมา  การอ่านรหัสแท่งจากแถบรหัสสินค้า  หรืออ่านข้อมูลจากการฝนดินสอลงในกระดาษคำตอบในการทำข้อสอบ  เป็นต้น
2.การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล  เป็นการนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มาตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องด้วยการใช้สายตามนุษย์หรือตั้งกฎเกณฑ์ให้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบ  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ  เหมาะสำหรับนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป
3.การประมวลผลข้อมูล  เป็นการนำข้อมูลที่ได้ตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องแล้วมาทำการประมวลผลด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น  จัดกลุ่ม  จัดเรียงตามตัวอักษร  และเปรีบเทียบหรือคำนวณข้อมูล  เพื่อให้ได้ผลสรุปที่เป็นสารสนเทศและนำไปใช้งานได้ 
4.การจัดเก็บ  เป็นการนำสารสนเทศที่ทำการประมวลผลแล้ว  มาจัดเก็บในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์  หรือสื่อบันทึกชนิดอื่น ๆ เช่น  แผ่นซีดี  แผ่นดีวีดี  หน่วยความจำแบบแฟลซ(แฟลซไดรฟ์) เป็นต้น
5.การทำสำเนา  เป็นการนำสารสนเทศที่จัดเก็บไว้มาทำสำเนาเพื่อสำรองสารสนเทศไว้ใช้หากข้อมูลต้นฉบับเกิดการสูญหาย  และสามารถนำไปใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งทำได้หลายวิธี  เช่น  การถ่ายเอกสารเก็บไว้ในแฟ้ม  การทำสำเนาลงในแผ่นซีดี  แผ่นดีวีดี  หรือหน่วยความจำแบบแฟรซ  เป็นต้น
6.การเผยแพร่สารสนนเทศ  เป็นการนำสารสนเทศไปแจกจ่ายให้ผู้อื่นได้มีความรู้ความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น  การเผยแพร่ลงเว็บไซต์สาธารณะ  กระดานสนทนา  ทำแผ่นพับหรือใบปลิว  ทำสำเนาลงในสื่อบันทึกข้อมูล  วางไว้ในสถานที่ที่หยิบง่าย  จัดป้ายนิเทศในบริเวณที่เป็นจุดสนใจหรืองานนิทรรศการ  เป็นต้น
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน  โดยใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  เพื่อให้การปฎิบัติงานสะดวกรวดเร็ว  ถูกต้องและแม่นยำ  ในการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยแก้ปัญหา  จำเป็นต้องปรับรูปแบบวิธีการทำงาน  ให้เหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                วิธีแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นวิธีที่อาจคล้ายกับการแก้ปัญหาด้วยวิธีการอื่น ๆ   แต่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการแก้ปัญหา  หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  แต่ต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาและศึกษาความเป็นไปได้ให้รอบคอบเสียก่อน  ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เครื่องมือวิเศษที่จะแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง  นอกจากนี้  ยังจะต้องมีการศึกษาถึงความคุ้มค่าในการลงทุน  เพื่อไม่ให้เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า  ต้องเลือกวิธีแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับงาน  จัดหาเครื่องมือ  และเทคโนโลยีที่ไม่เกินจำเป็น
                การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ  เหมาะกับระบบงานที่ต้องทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำซาก  และมีปริมาณงานมาก  หรืองานที่ต้องการความรวดเร็วในการคำนวณเกินกว่าคนธรรมดาจะทำได้  วิธีการโดยทั่วไปก็คือ  ปรับเปลี่ยนวิธีการหรือระบบการทำงานแบบเดิมมาใช้ระบบงานที่มีคอมพิวเตอร์ช่วย  ทำเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด  เท่าที่สามารถจะทำแทนคนได้
                ดังนั้น  การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ  จึงต้องมีการสร้างระบบงานคอมพิวเตอร์ขึ้นมาช่วยทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งโดยทั่วไปเราอาจไม่ต้องสร้างระบบงานทั้งหมดขึ้นใหม่  แต่พัฒนาระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานที่ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์  นิยมเรียกกันว่า  การพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์(Computerization) นั่นเอง
ดังนั้น  การแก้ปัญหาในการทำงานในปัจจุบันที่มีขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน  ส่วนมากมักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วย  เพื่อเพิ่มความสะดวก  รวดเร็ว  ถูกต้องแม่นยำ  และสามารถทำซ้ำได้ง่าย

หลักการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
                การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีหลักการสำคัญ คือ  ปัญหาทุกปัญหาต้องสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือวิธีการให้เหมาะสม  โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าในการลงทุน  ด้านเวลา  ด้านแรงงาน  และค่าใช้จ่าย 

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ลักษณะเด่นของกระบองเพชรและการแบ่งตามลักษณะทั่วไปในอาณาจักรพืช

Cactaceae

ลักษณะเด่นของพืชวงศ์ Cactaceae (กระบองเพชร)
1. เป็นไม้ยืนต้น
2. มีตุ่มหนาม (areole)
3. มีกลีบเลี้ยงแยกจากกลีบดอก

การแบ่งตามลักษณะทั่วไปในอาณาจักรพืช

1. เป็นพืชใบเลี้ยงคู่
2. เมล็ดมีเปลือกหุ้ม
3. มีท่อลำเลียงน้ำและอาหาร

วิวัฒนาการ และการอยู่รอด

วิวัฒนาการ และการอยู่รอด

วิวัฒนาการและการอยู่รอด
แคคตัสมีวิวัฒนาการมาจากพืชปกติทั่ว ๆ ไป เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มีความ
แห้งแล้งมากขึ้น พืชบางชนิดก็มีการปรับตัวเพื่อการดำรงชีวิต มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง เช่น
ลดรูปของใบไปเป็นหนาม เพื่อลดการคายน้ำ เป็นต้น ดังดูตัวอย่างได้จาก Pereskia และ
Pereskiopsis บรรพบุรุษของแคคตัสที่พบได้ในปัจจุบัน หรือฟอสซิลมีชีวิต ยังมีลักษณะของต้นไม้
ทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ มีลำต้นแตกกิ่งก้านสาขา และยังมีใบทำหน้าที่สังเคราะห์แสง แต่เริ่มมีการ
เปลี่ยนแปลงบางส่วนของใบไปเป็นหนามที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของแคคตัส

แคคตัสเป็นพืชที่ส่วนใหญ่พบเจริญเติบโตในทะเลทรายที่มีสภาพภูมิอากาศแห้งแล้งและหนาวเย็นแคคตัสมีวิธีการอย่างไรในการพัฒนาตนเองเพื่อให้ดำรงชีวิตให้อยู่ได้ในสภาพที่โหดร้ายการนั้นก็คือ การพัฒนาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเพื่อให้เหมาะสมกับการอยู่รอด โดยการ1. ลดรูปของใบเปลี่ยนเป็นหนาม เพื่อลดการคายน้ำ
หนามยังสามารถที่จะช่วยในการพรางแสง ลดความร้อนให้กับ
แคคตัสและยังช่วยป้องกันการถูกทำลายโดยการกัดแทะจากสัตว
2. สร้างส่วนที่มีลักษณะคล้ายไข (Wax) ปกคลุมส่วนผิวของลำต้น
มีจำนวนปากใบ (Stoma) บนลำต้นจำนวนน้อย และมีลำต้นเป็น
รูปทรงกลมซึ่งมีพื้นที่ผิวน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาตร ทำให้มี
การสูญเสียน้ำน้อยลง
 
3. พัฒนาเนื้อเยื่อพิเศษในลำต้น มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ
ทำหน้าที่ในการเก็บรักษาน้ำ
4. มีระบบรากฝอยอยู่ตื้น ๆใกล้กับผิวดิน ในเวลากลางคืนอากาศ
เย็นลงไอหมอกจะลอยตัวต่ำลงและควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำที่ผิว
ดิน ทำให้รากฝอยสามารถดูดซับความชุ่มชื้นจากอากาศและผิวดิน
ไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว
5. แคคตัสบางชนิดมีการพัฒนาระบบรากให้มีขนาดใหญ่ เพื่อใช้
เก็บสะสมน้ำและอาหารแคคตัสบางชนิดที่มีความพิเศษ สามารถ
หดตัวดึงเอาลำต้นให้มุดลงไปใต้ก้อนกรวดหรือใต้ผิวดิน ช่วยลด
ความร้อนและช่วยลดการคายน้ำโดยเฉพาะในหน้าร้อน
6. แคคตัสบางชนิดเจริญเติบโตบนเทือกเขาสูง ซึ่งมีอากาศ
หนาวเย็น ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงของหนามบางส่วนให้กลาย
เป็นขน (Bristle)หรือมีหนามปกคลุมลำต้นหนาแน่นป้องกัน
ความหนาวเย็นบางชนิดเปลี่ยนแปลงลำต้นให้เล็กลง เจริญ
เติบโตตามซอกหินหลีกหนีจากความหนาวเย็น
7. ในทะเลทรายที่แห้งแล้ง อาหารมีความจำเป็นมากในการ
ดำรงชีวิตแคคตัสบางชนิดยังมีการสร้างสารเคมีที่มีพิษต่อสัตว์
นอกเหนือจากหนามที่ใช้ป้องกันตนเอง
คนส่วนใหญ่จะเชื่อว่าแคคตัส เป็นพืชที่พบได้เฉพาะทะเลทรายเท่านั้น แต่จริง ๆ

แล้วเราสามารถพบแคคตัสได้ในทุกสภาพภูมิอากาศ ในเขตป่าร้อนชื้น (Tropical) และ
เขตป่ากึ่งร้อนชื้น (Subtropical) แคคตัสส่วนใหญ่จะเป็นพืชเกาะอาศัย (Epiphyte)
โดยจะเกาะอาศัยอยู่ตามคาคบไม้ในที่สูง รับแสงได้อย่างเต็มที่มีรากทำหน้าที่ในการ
ยึดเกาะอยู่ปะปนกับพืชในตระกูล กล้วยไม้ และเฟิร์น มีการพัฒนาให้สามารถอยู่ได้
ในสภาวะที่มีความชุ่มชื้นสูงลำต้นมีการเปลี่ยนรูปให้มีลักษณะแบนบางหรือเป็นรูปสาม
เหลี่ยมเพิ่มพื้นที่ผิวในการสังเคราะห์แสงส่วนหนามที่ไม่มีความจำเป็นก็มีขนาดเล็กลง
หรือหายไปแคคตัสในกลุ่มนี้ได้แก่ Epiphyllum (โบตั๋น), Rhipsalisและ
Schlumberera เป็นต้น

ความเชื่อ

ความเชื่อ

การเป็นมงคล คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นกระบองเพชรไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดโชคลาภ เพราะถ้าผู้ใดปลูกต้นกระบองเพชรให้ เกิดดอกได้มากและสวยงามแสดงว่าผู้นั้นจะมีโชคลาภ ดังนั้นคนไทยโบราณถือว่าเป็นไม้เสี่ยงทายชนิดหนึ่ง นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่ายังสามารถป้องกันศัตรูจากภายนอกได้อีกด้วย เพราะต้นกระบองเพชรมีหนามและความคงทนแข็งแรง ดังนั้นคนไทยโบราณจึงนิยมปลูกตามแนวรั้วบ้าน เพื่อให้เป็นที่กลัวเกรงของศัตรูภายนอกตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นกระบองเพชรไว้ทางทิศตะวันตก ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์

การดูแลรักษา

การดูแลรักษา

·         แสง : ต้องการแสงแดดน้อยในร่ม จนถึงแสงแดดจัดกลางแจ้ง
·         น้ำ : ต้องการปริมาณน้ำน้อย ทนต่อความแห้งแล้งให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง หรือแล้วแต่ความเหมาะสม
·         ดิน : ดินร่วนปนทราย ความชื้นปานกลาง
·         ปุ๋ย : ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 5-6 ครั้ง
·         การขยายพันธุ์ : การใช้เมล็ด และการปักชำ การปักชำเป็นวิธีที่นิยมและได้ผลดี
·         ศัตรูพืช : ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรูพืช เพราะเป็นไม้ที่มีความทนทานต่อการทำลายของศัตรูพืชได้ดี
·         โรค : โรครากเน่า (Sclerotium root rot)
·         อาการ : ลำต้นเหี่ยว และแคระแกร็น
·         การป้องกัน : ควบคุมการให้น้ำ และความชื้นอย่างเหมาะสม
·         การรักษา : ตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้งหรือปลูกใหม่

การปลูกเลี้ยง

การปลูกเลี้ยง
การปลูกแบ่งเป็น 2 วิธี
1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในอาคารและภายนอกอาคาร ใช้กระถางทรงและขนาดต่างกันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ คือตั้งแต่ขนาด 4-10 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ทรายหรือดินร่วน อัตรา 1:1 ผสมดินปลูก การเปลี่ยนกระถางแล้วแต่ความเหมาะสมของชนิดพันธุ์และผู้ปลูก แต่ถ้าจะให้เจริญสวยงามต้องควบคุมเรื่องปุ๋ย และน้ำให้ถูกวิธี
2. การปลูกในแปลงปลูกเป็นแนวรั้วบ้าน แต่จะต้องเป็นชนิดพันธุ์ ที่ค่อนข้างใหญ่ แข็งแรง ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1:3 ผสมดินปลูก



ลักษณะทางพฤษศาสตร์

ลักษณะทางพฤษศาสตร์


ลักษณะทั่วไป กระบองเพชรเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-12 ฟุต ลำต้นมีสีเขียวหรือเขียวคล้ำ มีขนหรือหนามรอบต้นหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ลักษณะต้นเป็นเหลี่ยมรูปทรงกระบอกรูปทรงกลม หรือแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ใบคือส่วนของลำต้นที่ทำหน้าที่แทนใบ หรือบางชนิดก็มีใบแบนกลมหนาใหญ่ อาจมีดอกสีแดง สีเหลือง หรือสีขาว ลักษณะดอกและขนาดดอกขึ้นกับชนิดพันธุ์